

INTERNATIONAL FORUM
*conducted in English with Thai interpretation provided.
Friday, 28 April 2023
15:00 - 17:00

Angela Spathonis
Principal, Managing Director | Gensler (Singapore)
Post COVID-19, the connectedness of people, place, and technology will be explored from the perspectives of place making, digital engagement, sustainability and diversity, exclusivity & inclusivity.
In an era of transitional hybrid work patterns, the underlying principles of what people now seek from the office are influencing why and when they choose to come to the office.
Consideration of these attitudinal changes are influencing decisions on workplace facilities for forward-looking management who seek to entice workers back to the office. Their investments in real estate, facilities and even staff are being challenged, so the desire to provide a workplace that caters for a wider demographic and experience is one tangible aspect in enticing their staff back so as to maximize the investment in the office as well as fortify their corporate culture.
As a result, workplace designers, and even architects, retail and hospitality designers need to be aware of these emerging and often fluid activity patterns to ensure their design responses create a sense of ‘place’. This can significantly influence the success of this return to the office, the shopping precinct and travel by generating more meaningful, desirable and rewarding experiences for users.
หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความเชื่อมต่อระหว่างคนทุกคน สถานที่ และเทคโนโลยี ได้ถูกท้าทายผ่านมุมมองการสร้างสันสถานที่ต่างๆ การเชื่อมต่อทางดิจิตอล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลาย ทั้งในแบบเฉพาะบุคคลและแบบรวมความหลากหลายของกลุ่มคน
ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและการทำงานในเชิงไฮบริด หลักการพื้นฐานที่จะบ่งบอกว่าพนักงาน ต้องการอะไรจากการเข้าออฟฟิศ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและช่วงเวลาที่คนเหล่านั้นเลือกที่จะเข้าไปทำงาน
การคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติเหล่านี้ ส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยสะดวกในที่ทำงานสำหรับผู้จัดการและผู้บริหาร เพื่อช่วยผลักดันให้พนักงานอยากกลับมาทำงานในออฟฟิศ
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สิ่งอำนวยความสะดวก ไปจนถึงตัวบุคลากรเอง ถูกท้าทายอย่างมาก ฉะนั้นการพัฒนาสถานที่ทำงานเพื่อเอื้อต่อ ประชากรและประสบการณ์ที่กว้างขึ้น เป็นอีกหนึ่งด้านที่สามารถดึงดูดพนักงานให้กลับมาทำงานที่ออฟฟิศ เพื่อใช้ประโยชน์จากการลงทุนในพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกออฟฟิศได้อย่างเต็มที่ พร้อมไปกับเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ด้วยเหตุนี้ ผู้ออกแบบสถานที่ทำงาน รวมไปถึงสถาปนิกที่ออกแบบสถานที่การค้าและการบริการต้องตระหนักถึงแนวโน้มของกิจกรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อออกแบบให้ตอบสนองและสร้างบรรยากาศความเป็น “สถานที่ (place)” สิ่งนี้สามารถส่งผลต่อความสำเร็จของการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ พื้นที่การค้า และการเดินทาง โดยการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมาย น่าจดจำ และคุ้มค่าให้กับผู้ใช้
Saturday, 29 April 2023
10:00 - 12:00
Wong Mun Summ
Founding Director | WOHA (Singapore)
WOHA co-Founding Director Wong Mun Summ will give an insight into the practice’s “Systems Approach”, in which every project is viewed as part of a larger social, environmental and economic system. WOHA’s buildings are designed as active and productive systems that are integrated into their social, ecological and urban context. With each project, the practice explores how it can optimize systems to create spaces that foster community, enable the stewardship of nature, generate biophilic beauty and versatility, activate ecosystem services and build resilience.
Wong Mun Summ กรรมการผู้ก่อตั้งรวมจาก WOHA จะมอบมุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับหลักปฏิบัติว่าด้วย “การนำระบบมาปรับใช้” ซึ่งทุกโครงการนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม สภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยอาคารของ WOHA ทุกแห่งนั้นได้รับการออกแบบให้เป็นระบบเพื่อนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของบริบทสังคม ระบบนิเวศ และชุมชนเมือง นอกจากนี้แต่ละโครงการยังได้นำหลักปฏิบัติมาใช้ค้นหาวิธีการใช้ระบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสร้างพื้นที่ที่ช่วยอุปถัมภ์ชุมชน ดูแลธรรมชาติ สร้างความงดงามและการปรับตัวสู่ธรรมชาติ กระตุ้นบริการตามระบบนิเวศ และสร้างความยืดหยุ่น

15:30 - 17:00
Fun Siew Leng
Chief Urban Designer | Urban Redevelopment Authority (URA) (Singapore)
As a small city-state with virtually no natural resources, land optimisation is needed to ensure that all the land use needs of the nation are accommodated, including planning for the future growth and changing needs of the city. To optimise its land and air space, Singapore has to build denser and taller. Therefore, urban design is important to ensure that the living environment is attractive and offers a high quality of life.
Following Singapore’s independence in 1965 and its nation-building years, Singapore was considered as a boring, sterile and unattractive place to be. However, in 2019, Singapore was voted as the most beautiful city in Asia. How did we achieve this transformation?
Singapore’s urban design is guided by its aspiration to be a distinctive, dynamic and delightful city. We seek to achieve these outcomes through urban design that operates at the macro, meso and micro scales, from skylines to streetscapes and public spaces. Equally important are the mechanisms, policy levers and incentive schemes that help us turn plans into reality. Urban design must also respond to emerging challenges like climate change, social aspirations, evolving demographics and technological advancements.
ในเมืองขนาดเล็กที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สอยของที่ดินจึงจำเป็นเพื่อรับรองการใช้งานทั้งหมดของประเทศสิงคโปร์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวางแผนสำหรับการเติบโตในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงความต้องการของเมือง เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ดินและพื้นที่ในอากาศอย่างเต็มที่ ประเทศสิงคโปร์จึงต้องสร้างโครงสร้างให้หนาแน่นและสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้การออกแบบผังเมืองจึงมีความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมการเป็นอยู่ที่น่าดึงดูดและก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่สูง
หลังจากที่ประเทศสิงคโปร์ได้รับอิสระในปี ค.ศ. 1965 และผ่านช่วงเวลาการวางรากฐานประเทศขึ้นมาใหม่ สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นประเทศที่น่าเบื่อ แห้งแล้ง และไม่น่าดึงดูด แต่ในปี 2019 ประเทศสิงคโปร์ได้รับเลือกให้เป็นเมืองที่สวยงามที่สุดในทวีปเอเชีย เราสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร?
การออกแบบผังเมืองของประเทศสิงคโปร์ถูกกำหนดโดยการตั้งปณิธานว่าเราจะต้องเป็นประเทศที่โดดเด่น และมีความเต็มเปี่ยมไปด้วยความเคลื่อนไหวและความสุขสบาย เราตั้งมั่นที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ผ่านการออกแบบเมืองที่สามารถทำงานทั้งใน มาโคร เมโส และไมโคร สเกล ตั้งแต่ตึกสูง ลักษณะทางถนน ไปจนถึงพื้นที่สาธารณะ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การมีกลไก เครื่องมือนโยบาย และระบบสิ่งส่งเสริมที่ช่วยให้เราสามารถแปลงแผนเป็นความเป็นจริงได้ การออกแบบผังเมืองต้องตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทิศทางของสังคม การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

Sunday, 30 April 2023
10:00 - 12:00

Damian Thompson
Co-owner, Director | LatStudios (Australia)
Registered Landscape Architect, Fellow of the Australian Institute of Landscape Architects (Faila)
Ditch the ego – we’re all in this together: Musings from multi-disciplinary practice operating at the intersection of natural and built environments.
An examination of the positive benefits of collectively embracing diverse, inter-generational thinking through a range of award-winning projects undertaken in our search for harmonious co-existence with the natural world.
จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน: แนวความคิดจากหลักการของสหวิทยาการ ซึ่งนำสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาผสมผสานกันอย่างลงตัว
การพิจารณาประโยชน์ของการน้อมรับความคิดอันหลากหลายผ่านโครงการที่รับรางวัลต่าง ๆ จากความพยายามในการค้นหาวิธีการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
15:00 - 17:00

Jakob Dunkl
Founder, Owner, CEO | querkraft architects (Austria)
The client´s aim: “We want to be a good neighbor.”
querkraft´s idea: stepping back and offering space, sunlight, and greenery to the people. There is a 4.5-meter deep zone around the building, like a series of shelves that offer shade. It allows spaces to expand, offers room for terraces and planting, and for servant elements such as lifts, escape staircases, toilets, and building services. The building is a 50 x 50 m open and flexible loft. On the upper two floors, there is a hostel. About 160 trees on the facade and on the roof have a perceptible influence on the microclimate. The three-dimensional use of trees provides a greater amount of planting than could be offered by using just the ground alone.
เป้าหมายของลูกค้าคือ “เราอยากเป็นเพื่อนบ้านที่ดี” ส่วนไอเดียของ querkraft คือ การมอบพื้นที่อันกว้างขวาง แสงแดด และความเขียวชอุ่มแก่ผู้คนโดยรอบ โดยรอบอาคารมีพื้นที่ยื่นออกมา 4.5 เมตรที่ออกแบบให้เป็นชั้น ๆ เพื่อให้ร่มเงา ทำให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อทำเป็นระเบียงหรือปลูกต้นไม้ และใช้เป็นพื้นที่เสริมสำหรับลิฟต์ บันไดหนีไฟ ห้องน้ำ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ของอาคาร นอกจากนี้อาคารยังมีพื้นที่เปิดโล่งขนาด 50 × 50 ม. ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย ส่วน 2 ชั้นบนมีโฮสเทลเปิดให้บริการ ต้นไม้ 160 ต้นบริเวณผนังด้านหน้าอาคารและบนหลังคาช่วยเพิ่มเสน่ห์ของธรรมชาติสีเขียวในภูมิอากาศขนาดย่อมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ต้นไม้เพื่อเพิ่มมิติในลักษณะนี้ช่วยให้จำนวนของต้นไม้ดูเยอะขึ้นกว่าการปลูกบนพื้นดินเพียงอย่างเดียว